เมนู

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ยชื่อว่า 10


พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์แม้นี้
อย่างนี้ จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า อะไรเอ่ยชื่อว่า 10 ในปัญหานั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอกุศลกรรมบถ 10 ไว้ในการพยากรณ์ทั้งหลาย นอก
จากการพยากรณ์ปัญหานี้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม 10 ภิกษุเมื่อหน่าย
โดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้. ในธรรม
10 คือ อกุศลกรรมบถ 10 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ธรรม 10 ภิกษุเมื่อหน่าย โดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้
ทำที่สุดทุกข์ได้ คำนั้นใดเรากล่าวว่า ปัญหา 10
อุทเทส 10 ไวยากรณ์ 10 คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าว
แล้ว
ดังนี้.
ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ในที่นี้ เพราะเหตุที่พระเถระไม่นำตัวเองเข้าไป ประ-
สงค์แต่จะพยากรณ์พระอรหัต หรือเพราะเหตุที่ปัญหากรรม ที่พระเถระพยา-
กรณ์โดยปริยายนี้ เป็นอันพยากรณ์ดีแล้ว ฉะนั้น ท่านที่ประกอบองค์ 10
เหล่าใดท่านเรียกว่าพระอรหันต์ พระเถระเมื่อแสดงการบรรลุองค์ 10 เหล่านั้น
จึงทูลตอบด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐานว่า ท่านผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ 10
ท่านเรียกว่า พระอรหันต์. เพราะในข้อนี้ ท่านผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ 10
เหล่าใด ท่านเรียกว่า พระอรหันต์ พึงทราบว่าองค์ 10. เหล่านั้น พระเถระ
ถูกตรัสถามว่า อะไรเอ่ยชื่อว่า 10 จึงทูลชี้แจง. ก็องค์ 10 เหล่านั้น พึง
ทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในพระสูตรทั้งหลายเป็นต้น อย่างนี้ว่า

ภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรียกกัน
ว่า อเสขะ อเสขะ ภิกษุเป็นอเสขะ ด้วยเหตุเท่าไร
พระเจ้าข้า. ตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ เป็นอเสขะ
สัมมาสังกัปปะ เป็นอเสขะ สัมมาวาจา เป็นอเสขะ
สัมมากัมมันตะ เป็นอเสขะ สัมมาอาชีวะ เป็นอเสขะ
สัมมาวายามะเป็นอเสขะ สัมมาสติเป็นอเสขะ สัมมา
สมาธิเป็นอเสขะ สัมมาญาณะเป็นอเสขะ และสัมมา
วิมุตติเป็นอเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ
ชื่อว่า เป็นอเสขะแล.

จบพรรณนากุมารปัญหา
แห่ง
อรรถกถาขุททกปาฐะ ปรมัตถโชติกา

มงคลสูตรในขุททกปาฐะ


[5] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้. สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร
อารามของท่านอนาถปิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น
เมื่อล่วงปฐมยามไปแล้ว เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงด
งามเปล่งรัศมีสว่างตัวพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืน
ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยพระคาถาว่า
[6] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ปรารถนาความ
สวัสดี พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกมงคลอันอุดมด้วยเถิด พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยคาถาเหล่านั้นว่า
การไม่คบพาล การคบแต่บัณฑิต และการบูชา
ผู้ที่ควรบูชา นี้ก็เป็นมงคลอุดม
การอยู่ในประเทศอันเหมาะ ความเป็นผู้ทำบุญ
ไว้แต่ก่อน การตั้งตนไว้ชอบ นี่ก็เป็นมงคลอุดม.
ความเป็นพหูสูต ความเป็นผู้มีศิลปะ มีวินัยที่
ศึกษามาดี มีวาจาเป็นสุภาษิต นี่ก็เป็นมงคลอุดม.